TypeScript มาเพิ่มคุณภาพของ Code ด้วย TsLint

Screen Shot 2560-02-04 at 10.23.56 AM.png

Linter นั้นคือเครื่องมือที่ช่วยให้ตรวจสอบลักษณะการเขียน Code ว่าเหมาะสมกับ Best Practices ที่ทาง Community ต่างๆแนะนำหรือไม่ ซึ่งจุดประสงค์หลักเพื่อช่วยให้ Source Code ของทั้งโปรเจคนั้นมีความ

  • อ่านง่าย และไปในทิศทางเดียวกัน
  • ดูแล แก้ไขง่าย
  • แก้ปัญหา Error แบบพื้นฐาน

โดยสำหรับ TypeScript นั้นgเครื่องมือนี้มีชื่อว่า TsLint

 การติดตั้งก็ใช้ npm เจ้าเก่า

$ npm install tslint typescript

จากนั้นก็ทำการสร้าง tslint.json ซึ่งจะเป็นไฟล์หลักที่ใช้ในการ Config ค่าต่างๆของ TsLint

$tslint –init

ลองเปิดดูไฟล์ tslint.json เราก็จะเห็นว่าทางค่าปกติที่ติดตั้งมานั้นมีกฏอะไรบ้าง ซึ่งใน version 4.4.2 ที่ผมใช้นั้นมันซัพพอร์ท JavaScript ด้วย

Screen Shot 2560-02-04 at 9.33.30 AM.png

กับอีกส่วนนึงคือ Node สำหรับ TypeScript ที่ใช้ชื่อ attribute ว่า rules เฉยๆ

Screen Shot 2560-02-04 at 9.36.27 AM.png

ทดสอบกับ Code ตัวอย่าง

ที่นี้มาลองเล่นกันกับ Code ตัวอย่างแบบง่ายๆกับ main.ts

// main.ts
class HERO{
 private name = 'HERO'
 public attack()
 {
 console.log(`${this.name} : do attack`);
 }
}

var player = new HERO();
player.attack();

หลังจาก compiled .ts ออกมาเป็น .js ก็จะออกมาเป็น

// main.js
var HERO = (function () {
 function HERO() {
 this.name = 'HERO';
 }
 HERO.prototype.attack = function () {
 console.log(this.name + " : do attack");
 };
 return HERO;
}());
var player = new HERO();
player.attack();

ลองรันดูก็ได้ผลออกมาตามนี้ครับ ซึ่งก็ถูกต้องดีหมายความว่า Code เรารันได้ดี 🙂

Screen Shot 2560-02-04 at 9.50.44 AM.png

ทีนี้ลองมารัน TsLint เพื่อดูว่า Code ของเรา 10 บรรทัดเนี่ยมันเขียนมาโอเคมั้ยกัน

$ tslint -c tslint.json *.ts -t stylish

ผลออกมากโดนไป 5 เรื่องครับ tslint จะรายงานมาว่าเราเขียนไม่ดียังไง ที่บรรทัดไหน ตัวอักษรที่เท่าไหร่

screen-shot-2560-02-04-at-9-54-26-am

เรื่องที่เราโดนรายงานครั้งนี้คือ

  1. ใช้ var แทนที่จะเป็น let หรือ const เพราะในโลกของ TypeScript เราแนะนำกันแบบนี้
  2. ลืมเว้นวรรค!!
  3. ใส่วงเล็บปีกกาเปิดผิดที่!@!#
  4. ตัวแปร String เราดันใช้ single quote ” แทนที่จะเป็น dobule quotes “” (ตามที่กำหนดไว้ใน tslint.json)
  5. ลืมเครื่องหมาย semi colon

จะเห็นว่าสิ่งที่มันรายงานผลมานั้นก็ดูดีมีประโยชน์ครับ(มั้ย?)

ที่นี้เรามาดู Code หลังจากแก้ไขไปแล้วดีกว่าเนอะ

Screen Shot 2560-02-04 at 10.15.16 AM.png

จากรูปด้านซ้ายและขวาที่เหมือนเล่นเกมจับผิด จะเห็นได้ว่าการทำ Linter นั้นช่วยให้ Code ของเรานั้นดูเป็นระเบียบมากขึ้น ยิ่งในกรณีที่ในโปรเจคมี Developer หลายๆคน อาจะใช้ Linter นั้นจะช่วยให้ Code ที่ถูกเขียนมานั้นเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากขึ้น

การทำให้ Software นั้น Maintain ได้ง่ายและมีคุณภาพ เป็นเกียรติ (Duty) ของ Developer นะครับ 🙂

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s