ทำให้ App บน Windows เป็นสีขาว-ดำ

เนื่องจากว่าผมได้พยายามลองทำให้ Application บน Windows นั้นเปลี่ยนเป็นสีโทนขาว-ดำ เลยอยากจะแชร์สิ่งที่ได้ลองทำนะครับ (ถึงแม้ว่าผลของการ Implement นั้นยังไม่ถูกใจเท่าที่ควร)

ก่อนอื่นเลยผมขอเรียก app นี้ว่า Mourning App และเนื่องจากว่าต้องการทำสำหรับ Windows App ดังนั้นภาษาที่ผมใช้คือ C++ และ Win32 API ซึ่งตัว API ที่ใช้หลักๆคือ Magnification API ซึ่งเป็น Windows API ที่ปกติเอาไว้ทำพวก Tool ที่เป็นแว่นขยายต่างๆ

หลักการของ Mourning App ที่ผมทำมี 4 ขั้นตอน คือ

  1. หา Process ที่เราสนใจจะทำการ apply การทำภาพขาวดำก่อน

    API ที่ผมใช้ส่วนนี้คือ

    ::EnumProcesses ซึ่งทำให้เราได้จำนวน Process ที่กำลังรันอยู่ทั้งหมดมาพร้อมทั้ง Process ID ซึ่งเราจะใช้เอาไว้หาชื่อ Process ที่เราสนใจได้

  2. หา Window Handle (hwnd) ที่มันทำการแสดงผลอยู่ (visible) ของ Process นั้นๆ

    Code หลักๆที่ใช้ก็คือ  ::EnumWindows
    ซึ่งจากนั้นใน Callback ของ EnumWindowsProc นั้นจะได้ hwnd มาเรื่อยๆซึ่งผมจำการเช็ค

    if (!::IsWindow(hwnd) && !::IsWindowVisible(hwnd))
    return true;

  3. Render ทับตำแหน่ง application จริงๆด้วย Magnifier window พร้อมกับแปลงให้เป็นสีแบบ Gray Scale

    ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุด ซึ่งใช้ Magnification API โดยการสร้าง Window ด้วย Style : MS_CLIPAROUNDCURSOR

    m_hwndMag = CreateWindow(WC_MAGNIFIER, TEXT(“MagnifierWindow”),
    WS_CHILD | MS_CLIPAROUNDCURSOR | WS_VISIBLE

  4. ทำการ Refresh รูปบ่อยๆเพื่อให้ภาพเนียนที่สุดเวลา Application มีการ update หน้าจอ

    ส่วนนี้ไม่มีอะไรมากก็คือการตั้ง Timer เพื่อทำการ Refresh UI ครับแต่เราจะ Refresh เฉพาะ window ไม่ใช่ทั้งหน้าจอ Desktop

ตัวอย่างที่ได้ครับ

vscode
vscode in grayscale
chrome.png
Chrome เป็นสีเทา แต่ Edge ยังเป็นสีปกติ
ffx2.png
เกม FFX-2 ก็ทำให้ขาว-ดำ ได้นะครับ

ที่นี้มาดูผลที่ยังไม่น่าพอใจใน Implement ครั้งนี้ครับ

  1. ตัว render ภาพขาว-ดำนั้นเป็น Top Window ซึ่งทำให้ถ้ามี App ที่เปิดทับมันก็จะเป็นสีขาว-ดำด้วย
  2. ช้า เนื่องจากการ refresh นั้นบ่อยๆมีผลกับ Performance ทำให้ภาพมี delay บ้าง
  3. CPU ขึ้นตลอดเวลา 5% เนื่องจากต้อง query Process ตลอดเวลาในการเช็คว่ามี Window ของ Process ที่เราจะทำการ render ขาว-ดำ เปิดมาใหม่รึเปล่า

สุดท้ายนี้ ใครสนใจอยากดูตัวอย่างก็ Github เลยครับผม https://github.com/anurocha/mourning-win-app

npm แล้วช้ามาลองใช้ yarn จาก facebook กัน

yarn-kitten-full

ทุกๆท่านที่เขียน Node.js ก็ต้องคุ้นเคยกับ npm กันอยู่แล้วนะครับ ซึ่งบางทีเรามักจะเจอว่า มัน install นาน รวมถึงเวลาเน็ตมีปัญหาแล้วมัน install ไม่ได้ มาวันนี้ Facebook ได้ประกาศ Open Source ตัว package manager ตัวใหม่ที่ทำงานบนพื้นฐานของ npm ซึ่งชื่อของมันก็คือ Yarn

ทาง Facebook ได้พูดถึงจุดเด่นหลักๆได้ประมาณนี้ครับ

  1. เร็ว – เพราะมีระบบการ Cache ถ้า pkg ไหนโหลดมาแล้วก็ไม่ต้องโหลด
  2. เชื่อถือได้ – ใช้ในการติดตั้ง package ได้เหมือนเจ้าอื่น
  3. ปลอดภัย – ทำการ check sum ซึ่งเป็นการตรวจเช็คว่าการ install นั้นถูกต้อง

ความสามารถหลักๆของมันคือเช่น

  • Offline Mode ถ้าเคย insatll package มาแล้วครั้งนึง ก็ไม่ต้องใช้ internet ในการ install แล้ว
  • ใช้ประโยชน์จาก Network อย่างเต็มที่ทำให้การ install นั้นเร็วขึ้น
  • ใช้ได้ทั้งกับ npm และ Bower
  • ทำการ retry ถ้าหากว่ามีปัญหาตอน install

อ่านรายละเอียดได้ที่ https://github.com/yarnpkg/yarn และ https://code.facebook.com/posts/1840075619545360 สำหรับ Architure และที่มาที่ไปของ Project นี้ครับ

เกริ่นมาพอแล้ว เรามาลองเล่นกันดีกว่าครับ

ก่อนอื่นก็

npm install -g yarnpkg

แล้วก็ลองเช็คดูครับว่าลงได้

yarnv.png

ที่นี้เดี๋ยวผมลอง install module เล่นๆ เอาเป็น socket.io ละกันครับ ดังนั้นผมสร้าง package.json ง่ายๆมาก่อน

{
“dependencies”: {
“socket.io”: “^1.5.0”
}
}

package.json

ที่นี้ลองรัน “yarn” ซึ่งเทียบเท่ากับ “npm install”

จะเห็นว่าเราจะได้ node_modules มารวมถึงเวลาที่ใช้ไป 3.61s

yarn_install.png

ทีนี้ผมลองลบ folder ‘node_modules’ ทิ้งเพื่อจะดูว่ามัน Offline install ได้จริงเปล่าแล้วก็ทำการ yarn อีกที ผลที่ได้คือ !!! 0.77s

yarn_reinstall

จะเห็นได้ว่า yarn นั้นทำการ cached ตัว package ที่เคยโหลดมาแล้วไว้ที่ Local Machine ซึ่งผมลองไปคุ้ยๆ Folder ดูก็เจอว่ามันไปเก็บไว้ที่  %localappdata%/yarn นี่เองสำหรับบน Windows

local_yarn.png

สรุป ผมว่า Tool ตัวนี้น่าสนใจครับ เดี๋ยวว่าจะเอาไปลองใช้ใน Production บ้าง โดยเฉพาะช่วงเน็ตช้าและต้องงานหลายๆ repo ที่อาจจะมีการใช้ npm package ซ้ำๆกันบ่อยๆ…