ความเดิมตอนแรกสุดเลยนั้น ผมใช้ datasources เป็น memory เพราะว่าใช้ในการ Development ที่นี้เนื่องจากว่าผมอยากใช้ database เป็น NoSQL ผมก็เลยลองหาวิธีการดู ซึ่งก็ไม่ผิดหวังครับ LoopBack นั้นจัดการให้เราได้อย่างง่ายๆเช่นเคย
บทความก่อนหน้าเพื่อความเข้าใจพื้นฐานมากขึ้น
Node.js เขียน REST API ด้วย LoopBack
Node.js – LoopBack มาต่อกันที่การเพิ่ม REST API กับ Query กัน
ที่นี้เปิดดูไฟล์ datasources.json กันก่อนครับ จะเห็นว่าเป็นการ define ว่าใช้ memory
{ "db": { "name": "db", "connector": "memory" } }
แก้ datasources.json
ผมก็แค่เปลี่ยน configuration ในนี้ให้เป็น ‘mongodb’ ซึ่งผมทดสอบกับ Azure DocumentDB service นะครับ ไม่ได้ตั้ง mongoDB เอง
ที่นี้เราลองมารัน LoopBack กันอีกรอบนึงครับ ปรากฎว่ารันไม่ผ่าน เพราะ LoopBack ไม่รู้จัก configuration นี้
ติดตั้ง Connector
สิ่งที่เราต้องทำคือการ install mongodb connector ครับ ด้วย npm command ข้างบน
npm install loopback-connector-mongodb
เมื่อ install เสร็จก็จะสามารถรันได้แล้วครับ เช่นเดิมคือ port เบอร์ 3000
ทดสอบ
ที่นี้เราลอง POST เพื่อใส่ข้อมูลกัน ผม POST – anurocha กับ destiny ไปครับ
ที่นี้ลอง Query ดูใน Azure Dashboard ก็จะเห็นว่าลองใช้ Query Explore บน Azure ดูก็ได้ค่าที่ POST ไปจาก localhost ที่เราต่อกับ mongoDB บน Azure ถูกต้อง
จะเห็นได้ว่า LoopBack นั้นช่วยให้เรา Connect ไปที่ Database ได้โดยที่ผมยังไม่ได้เขียน Code หรือ SQL เลยโดยที่ datasource ที่ LoopBack นั้นมี Connector ก็ดูได้ตามนี้ครับ (Database connectors) ซึ่งคร่าวๆก็มีครบหมดครับสำหรับตัวยอดนิยม MongoDB, MySQL, Oracle, PostgreSQL, Redis, SQL Server, SQL Lite และอื่นๆ
เป็นไงครับ POWER FUL มากๆ…