Cloud สำหรับ Non-techs

Screen Shot 2560-09-02 at 5.53.39 PM.png

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ผมสนใจเรื่อง Cloud เป็นพิเศษแต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้เขียนอะไรเกี่ยวกับ Cloud เลย วันนี้ขอแบบชิลล์ๆดีกว่า กับ Cloud สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวง Techs

Cloud Computing การประมวลผลแบบก้อนเมฆคืออะไร ?

ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เราต้องท้าวความกันก่อนเลยครับ

รู้จักกับการประมวลผล

ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนั้นจะมีอุปกรณ์และวงจรเล็กๆเต็มไปหมด แต่ส่วนที่ใช้ประมวลผลนั้นเรียกว่า CPU หรือ Processor ซึ่งถึงเปรียบเทียบได้กับสมองของคนเรา  (หมายความว่ายิ่ง CPU ยิ่งดีและราคาแพง ยิ่งทำงานได้ดีและเร็วขึ้น)

i

การประมวลผล (Computing) นั้นก็คือการนำข้อมูลต่างๆใส่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะให้ CPU ทำงานตามคำสั่งของโปรแกรมโดยที่โปรแกรมเมอร์(Programmer) เป็นคนเขียนใส่คำสั่งเหล่านี้
.
.
ยกตัวอย่างเช่น “เครื่องคิดเลข” ที่ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์เหมือนกัน โดยที่มันถูกติดตั้งโปรแกรมคิดเลขมาอยู่ในเครื่อง เมื่อเรากดตัวเลขและคำสั่ง บวก ลบ ก็จะเป็นการส่งข้อมูลเพื่อให้ CPU ไปประมวลผลแล้วก็ส่งผลลัพธ์กลับมาที่หน้าจอ

รูปจาก http://www.bbc.co.uk/staticarchive/e45e9a229d416394b2f1e16dd7f13689b46c20ca.png

ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้วพวกเราที่ใช้คอมพิวเตอร์เนี่ยไม่ต้องใช้งานการประมวลผลหนักๆมากนักเราเลยใช้คอมพิวเตอร์กันแบบที่เรียกว่า PC ซึ่งย่อมาจาก Personal Computer หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

PC กับ Server

ทีนี้ถ้าสมมุติว่าเราอยากมีเว็ปไซต์เป็นของตัวเอง ซึ่งจะแตกต่างจากการเปิดคอมพิวเตอร์ใช้ทำงานเอง เพราะเราจะต้องเปิดระบบเครือข่ายให้คนอื่นๆมาดูเว็บไซต์ของเราได้ ซึ่งแน่นอนว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server)

Server คือ คอมพิวเตอร์ที่เปิดระบบให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆไม่ว่าจะเป็น PC หรือ Server เครื่องอื่นๆมาเชื่อมต่อได้เพื่อขอดูหรือจัดเก็บข้อมูล

.
.
เช่นรูปด้านล่างนี้จะเป็นการเชื่อมต่อของ Client ซึ่งแปลว่าเครื่องลูกๆ เช่นพวกคอมพิวเตอร์ PC ทั่วๆไปหลายๆเครื่องกำลังเชื่อมต่อกับเครื่อง Server (เครื่องแม่) เพียงเครื่องเดียว

รูปจาก https://www.kullabs.com/uploads/client-server.png

โดยทั่วๆไปแล้วนั้นเราก็มีทางเลือก 2 ทางใหญ่ๆในการติดตั้ง Server

  1. เอา PC มาทำเป็น Server
  2. เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเป็น Server โดยเฉพาะ ซึ่งราคาจะแพงกว่าเครื่อง PC เนื่องจากว่าอุปกรณ์ต่างๆจะมีคุณภาพสูงกว่าและรองรับการใช้งานที่ต้องเปิดเครื่องทิ้งไว้ตลอดเวลาเป็นเวลาหลายๆปีได้ดีกว่า

เมื่อระบบใหญ่ขึ้น

มาถึงตรงนี้ทุกคนก็จะรู้แล้วว่า เครื่อง Server หนึ่งเครื่องนั้นอาจจะสามารถรองรับการเชื่อมต่อของเครื่องลูกๆได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ถ้า Server หนึ่งเครื่องรองรับลูกค้าได้ 100 คน แล้วถ้าลูกค้าเราเพิ่มเป็น 3,000 คนล่ะ ระบบของเราก็ต้องใหญ่ขึ้น 30 เท่าเลยทีเดียว ก็ทำให้เราต้องมีการติดตั้ง Server เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ตรงนี้ก็อาจจะต้องทำมีค่าใช้จ่ายในการดูแลมากขึ้นทั้งค่าไฟ ค่าแอร์ ค่าซ่อมอุปกรณ์  รวมถึงพื้นที่ที่จะเอาไว้ติดตั้งด้วย
.
.
จนถึงกระทั่งอาจจะต้องทำห้องสำหรับติดตั้ง Server กันเลย (ซึ่งถ้าเรียกทับศัพท์ก็มีหลายๆคำที่มีความหมายเดียวกัน Server Room, Server Lab, Server Farm หรือ Data Center – ศูนย์ข้อมูล ) ซึ่งจะมีเครื่อง Server หลายสิบ ร้อย พัน เครื่องเลยทีเดียว

รูปจาก https://www.bournehosting.com/images/image2.jpg

เพราะ Server แพงเรามาแชร์กันดีกว่า

ถ้าเปรียบเทียบการตั้ง Server เองเหมือนกับการสร้างตึกเพื่อเอามาไว้สำหรับเก็บของ ซึ่งกว่าจะได้ตึกที่พร้อมใช้งานนั้นก็ต้องใช้ทั้งแรง เวลา และค่าใช้จ่าย รวมถึงยังสามารถเก็บของได้จำกัดด้วย และที่สำคัญถ้าเราไม่ได้ใช้งานก็ต้องเสียค่าบำรุงรักษา เพราะว่าสร้างมาแล้วเราเป็นเจ้าของตึกนั้น
.
.
การสร้าง ห้อง Server หรือ Data Center นั้นก็เหมือนกับการสร้างตึกแถว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้นไปอีก แถมยิ่งถ้าสร้างมาใหญ่แต่สิ่งของที่จะเก็บใช้ดันมีไม่เต็มที่ก็จะยิ่งเสียทิ้งไปเปล่าๆ
.
.
ดังนั้นถ้าหากธุรกิจหรือระบบที่ไม่ได้ต้องการควบคุมทุกอย่างเอง ก็อาจจะใช้ทางเลือกคือ การเช่า
เช่นเดียวกันกับระบบคอมพิวเตอร์ เราไม่จำเป็นที่จะต้องสร้าง Server เอง แต่เราสามารถไปเช่าผู้ให้บริการได้เช่นกัน ซึ่งก็เปรียบเหมือนกับการไปเช่าห้องในคอนโด ที่เราจะต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในคอนโดทั้งตึกแต่เราก็มีความเป็นส่วนตัวในห้องที่เช่า ถ้าเราไม่อยากใช้ก็แค่ยกเลิกการเช่า โดยไม่ต้องเสียงค่าดูแลระยะยาว ถ้า Server ที่เช่าอยู่นั้นเริ่มเก็บข้อมูลหรือทำงานไม่เพียงพอ เราก็สามารถเช่าเพิ่มได้ทันทีโดยใช้เวลาเพียงไม่ถึง 10 นาที พร้อมทั้งมีระบบรักษาความปลอดภัยให้ในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของ Cloud

ในที่สุดก็เข้าเรื่อง Cloud

ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว Cloud ก็คือคอนโดที่มีตึกอยู่มากมายทั่วโลก เราสามารถที่จะเช่าเพื่อที่จะใช้งานให้สามารถตอบสนองผู้ใช้ระบบของเราได้(เกือบ)ทั่วโลกเช่นกัน
.
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามี Server ที่ตั้งอยู่ที่ไทยเพื่อให้บริการข้อมูลของบริษัท แต่ลูกค้าอยู่ที่อเมริกา ซึ่งการที่เค้าจะมาดูข้อมูลได้นั้นจะต้องผ่านระบบเชื่อมต่อหลายขั้นมากกว่าจะมาถึง Server ของเรา จึงทำให้เกิดความล่าช้า แล้วยิ่งถ้าเป็นข้อมูลที่ต้องดูแบบ ณ เวลานั้น (Realtime) ก็ยิ่งเป็นเรื่องใหญ่
.
ดังนั้นการมีระบบอยู่กระจายทั่วโลกนั้นเป็นการเพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีกว่า แต่ถ้าเป็นสมัยก่อน เราจะไปตั้ง Server ที่อเมริกาจะทำได้ง่ายๆรึเปล่านะ(?)

global_infrastructure_v25_7-19-17

แผนที่ศูนย์ข้อมูลของ AWS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Cloud เจ้าใหญ่ที่สุด ณ เวลานี้

ผู้ให้บริการ Cloud นั้นทำหน้าที่คือสร้าง Data Center ทั่วโลก รวมถึงดูแลรักษาและสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งมีรายได้มาจากการให้เช่า ซึ่งผู้ให้บริการรายใหญ่ตอนนี้ก็คือ Amazone Web Services (AWS), Microsoft Azure และ Google Cloud
.
ผู้ใช้บริการ Cloud ก็เหมือนเป็นผู้เช่าที่จ่ายเงินเมื่อต้องการใช้ระบบซึ่งถ้าเลิกใช้ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายต่อ ซึ่งปัจจุบันก็จ่ายกันผ่านบัตรเครดิต
.
ความยิ่งใหญ่ของ Cloud
ในวันนี้ก็คือมันมีระบบกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งถ้าหากเราต้องการเก็บข้อมูลหรือให้บริการข้อมูลลูกค้าทั้งโลกนั้นการสร้าง Data Center หรือ Server เองนั้นยิ่งเป็นไปได้ยาก ถ้าเทียบการใช้บริการ Cloud ของรายใหญ่ ซึ่งก็จะทำให้ธุรกิจของเรานั้นสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้รวดเร็วทั่วทั้งโลกได้ดียิ่งขึ้น เพราะเราสามารถเช่าและเข้าใช้ระบบได้ในทันที! ซึ่งการที่มันมีระบบคอมพิวเตอร์กระจายตัวอยู่ทั่วโลกก็เปรียบได้กับกลุ่มเมฆที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลก

…และนิทานเรื่อง Cloud Computing ก็จบลงเท่านี้ 🙂

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s